นักประกาศชาวจีน John Sung ( จอห์น ซ่ง )
จอห์น ซ่ง (John Sung)
เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐนิกายโปรเตสแตนต์ชาวจีน ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำการฟื้นฟูความเชื่อในหมู่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างปี ค.ศ. 1920-1940 จอห์น ซ่ง เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1901 ในมณฑลมณฑลฝูเจี้ยน (Fujjian) ในภาคตะวันออกของจีนบิดาของท่านเป็นศิษยาภิบาล
หรือครูสอนศาสนาคริสต์ในคริสตจักรเวสเลยันเมทอดิสต์ (American Wesleyan Methodist Church) จอห์น ซ่ง มีบทบาทช่วยเหลือพ่อในคริสตจักร บางครั้งก็มีโอกาสเทศนาแทนเมื่อบิดาป่วย ซึ่งด้วยบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทำให้สมาชิกคริสตจักรเรียกเขาว่า "ศิษยาภิบาลตัวน้อย" ในปี ค.ศ. 1920 จอห์น ซ่ง ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโอไฮโอเวสเลยัน (Ohio Wesleyan University) และต่อมาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา เขาได้จบปริญญาเอกทางเคมี เขาเป็นนักศึกษาดีเด่นของมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานการเขียนและค้นคว้าทางเคมียังคงปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ในมหาวิทยาลัย แม้จะมีความสามารถสูงและมีโอกาสในการทำงานสูง แต่จอห์น ซ่ง ตัดสินใจทำงานรับใช้พระเยซูคริสต์และการอุทิศตัวเพื่องานของคริสตจักร ดังนั้นในปี ค.ศ. 1926 ได้เข้าศึกษาเทววิทยาใน Union Theological Seminary ในสหรัฐอเมริกา
การเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายวิญญาณ
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 จอห์น ซ่ง กล่าวว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เทลงมาบนเขา ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อของคริสเตียนบางส่วนว่าเขาได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ จอห์น ซ่ง กล่าวว่าเขาได้บังเกิดใหม่อีกครั้ง เขาใช้พระธรรมลูกา บทที่ 23 อ้างถึงพระเมตตาของพระเจ้าและรู้สึกว่าพระเจ้าได้ให้อภัยความบาปผิดของเขา จอห์น ซ่ง รู้สึกว่าตนเองได้รับแรงและมีความเข้มแข็งในการประกาศพระกิตติคุณมากขึ้น ดังนั้นเขาจึงประกาศเรื่องพระกิตติคุณกับเพื่อน ๆ และอาจารย์ในโรงเรียน เพื่อน ๆ และอาจารย์ในเซมินารีคิดว่าเขาดูมีความเชื่อที่เบี่ยงเบนมากเกินไปและอาจเครียดจากการเรียน จนกระทั่งเซมินารีส่งตัวเขาไปที่โรงพยาบาลประสาท (โรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยทางจิตใจ) เป็นเวลา 193 วัน และในช่วงเวลาดังกล่าวเขายังอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างต่อเนื่อง 40 รอบ จนเขาคุ้นเคยกับพระคัมภีร์
กลับประเทศจีนและงานเทศนา
ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 1927 จอห์น ซ่ง กลับประเทศจีน เขาได้จบการศึกษาจากเซมินารี
เขาโยนใบรับรองทางการศึกษา รางวัลต่าง ๆ จากการศึกษาที่เขาได้รับลงในทะเล ยกเว้นใบปริญญาเอก (ทางเคมี) เพื่อพ่อของเขา เขาทำเช่นนี้เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อพระเจ้า เริ่มต้นการเทศนาที่เขตมิ่นใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน เป็นเวลา 3 ปี หัวข้อหลักในการเทศนาคือ ไม้กางเขนและพระโลหิตของพระคริสต์ การบังเกิดใหม่ทางฝ่ายจิตวิญญาณและการแบกไม้กางเขน ปี ค.ศ. 1930 จอห์น ซ่ง เข้าร่วมโรงเรียนพระคัมภีร์ในเซี่ยงไฮ้ ท่านเทศนาและมีชาวจีนหลายคนตัดสินใจเชื่อเรื่องของพระเยซู การ
เทศนาที่ประเทศไทย
ในปี ค.ศ. 1938-1939 ท่านได้เดินทางมาเทศนาในเมืองไทย ท่านเดินทางครั้งแรกสู่เมืองไทยในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ซึ่งคำเทศนาของท่านได้สร้างความประทับใจให้คริสเตียนชาวไทยและชาวจีนในไทย หลายคนกล่าวว่าหากผู้แปลคนใดลังเลใจในเรื่องที่จะแปลท่านจะไล่ลงจากเวทีทันที ในช่วงเวลานี้ ดร.จอห์น ซ่ง ได้รู้จัก ศาสนาจารย์บุญมาก กิตติสาร เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย ทั้งสองมีความสนิทสนมกัน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1939 ศจ.บุญมาก กิตติสาร ชวน ดร.จอห์น ซ่งกลับมาเมืองไทยอีก ท่านตระเวนเทศนาตามคริสตจักรแบ๊บติสส์และคริสตจักรสาธร อย่างไรก็ตามมีคณะกรรมการบริหารสภาคริสตจักรยังคงสงสัยในความเชื่อทางเทววิทยาของท่าน และมองว่าการฟื้นฟูที่เน้นอารมณ์ร่วมนี้ไม่เหมาะสมกับคริสตจักรในประเทศไทย ก่อให้เกิดความแตกแยกของมิชชันนารีในสังกัดคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian Mission) คือ กลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มหัวสมัยใหม อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูที่เกิดขึ้นก็ทำให้คริสตจักรไทย (โดยเฉพาะคริสตจักรจีนในไทย) มีการเคลื่อนไหวและได้เพิ่มจำนวนสมาชิกในช่วงนั้น ชาวคริสเตียนส่วนหนึ่งเชื่อว่าการมาของ ดร.จอห์น ซ่ง ได้นำรูปแบบคาริสเมติกเข้ามาในคริสตจักรไทยและเป็นการวางพื้นฐานเพื่อการก่อตั้งและขยายกลุ่มคณะเพ็นเทคอสตอลในภายหลัง
เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐนิกายโปรเตสแตนต์ชาวจีน ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำการฟื้นฟูความเชื่อในหมู่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างปี ค.ศ. 1920-1940 จอห์น ซ่ง เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1901 ในมณฑลมณฑลฝูเจี้ยน (Fujjian) ในภาคตะวันออกของจีนบิดาของท่านเป็นศิษยาภิบาล
หรือครูสอนศาสนาคริสต์ในคริสตจักรเวสเลยันเมทอดิสต์ (American Wesleyan Methodist Church) จอห์น ซ่ง มีบทบาทช่วยเหลือพ่อในคริสตจักร บางครั้งก็มีโอกาสเทศนาแทนเมื่อบิดาป่วย ซึ่งด้วยบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทำให้สมาชิกคริสตจักรเรียกเขาว่า "ศิษยาภิบาลตัวน้อย" ในปี ค.ศ. 1920 จอห์น ซ่ง ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโอไฮโอเวสเลยัน (Ohio Wesleyan University) และต่อมาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา เขาได้จบปริญญาเอกทางเคมี เขาเป็นนักศึกษาดีเด่นของมหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานการเขียนและค้นคว้าทางเคมียังคงปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ในมหาวิทยาลัย แม้จะมีความสามารถสูงและมีโอกาสในการทำงานสูง แต่จอห์น ซ่ง ตัดสินใจทำงานรับใช้พระเยซูคริสต์และการอุทิศตัวเพื่องานของคริสตจักร ดังนั้นในปี ค.ศ. 1926 ได้เข้าศึกษาเทววิทยาใน Union Theological Seminary ในสหรัฐอเมริกา
การเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายวิญญาณ
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 จอห์น ซ่ง กล่าวว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เทลงมาบนเขา ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อของคริสเตียนบางส่วนว่าเขาได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ จอห์น ซ่ง กล่าวว่าเขาได้บังเกิดใหม่อีกครั้ง เขาใช้พระธรรมลูกา บทที่ 23 อ้างถึงพระเมตตาของพระเจ้าและรู้สึกว่าพระเจ้าได้ให้อภัยความบาปผิดของเขา จอห์น ซ่ง รู้สึกว่าตนเองได้รับแรงและมีความเข้มแข็งในการประกาศพระกิตติคุณมากขึ้น ดังนั้นเขาจึงประกาศเรื่องพระกิตติคุณกับเพื่อน ๆ และอาจารย์ในโรงเรียน เพื่อน ๆ และอาจารย์ในเซมินารีคิดว่าเขาดูมีความเชื่อที่เบี่ยงเบนมากเกินไปและอาจเครียดจากการเรียน จนกระทั่งเซมินารีส่งตัวเขาไปที่โรงพยาบาลประสาท (โรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยทางจิตใจ) เป็นเวลา 193 วัน และในช่วงเวลาดังกล่าวเขายังอ่านคัมภีร์ไบเบิลอย่างต่อเนื่อง 40 รอบ จนเขาคุ้นเคยกับพระคัมภีร์
กลับประเทศจีนและงานเทศนา
ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 1927 จอห์น ซ่ง กลับประเทศจีน เขาได้จบการศึกษาจากเซมินารี
เขาโยนใบรับรองทางการศึกษา รางวัลต่าง ๆ จากการศึกษาที่เขาได้รับลงในทะเล ยกเว้นใบปริญญาเอก (ทางเคมี) เพื่อพ่อของเขา เขาทำเช่นนี้เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อพระเจ้า เริ่มต้นการเทศนาที่เขตมิ่นใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน เป็นเวลา 3 ปี หัวข้อหลักในการเทศนาคือ ไม้กางเขนและพระโลหิตของพระคริสต์ การบังเกิดใหม่ทางฝ่ายจิตวิญญาณและการแบกไม้กางเขน ปี ค.ศ. 1930 จอห์น ซ่ง เข้าร่วมโรงเรียนพระคัมภีร์ในเซี่ยงไฮ้ ท่านเทศนาและมีชาวจีนหลายคนตัดสินใจเชื่อเรื่องของพระเยซู การ
เทศนาที่ประเทศไทย
ในปี ค.ศ. 1938-1939 ท่านได้เดินทางมาเทศนาในเมืองไทย ท่านเดินทางครั้งแรกสู่เมืองไทยในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ซึ่งคำเทศนาของท่านได้สร้างความประทับใจให้คริสเตียนชาวไทยและชาวจีนในไทย หลายคนกล่าวว่าหากผู้แปลคนใดลังเลใจในเรื่องที่จะแปลท่านจะไล่ลงจากเวทีทันที ในช่วงเวลานี้ ดร.จอห์น ซ่ง ได้รู้จัก ศาสนาจารย์บุญมาก กิตติสาร เลขาธิการสภาคริสตจักรในประเทศไทย ทั้งสองมีความสนิทสนมกัน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1939 ศจ.บุญมาก กิตติสาร ชวน ดร.จอห์น ซ่งกลับมาเมืองไทยอีก ท่านตระเวนเทศนาตามคริสตจักรแบ๊บติสส์และคริสตจักรสาธร อย่างไรก็ตามมีคณะกรรมการบริหารสภาคริสตจักรยังคงสงสัยในความเชื่อทางเทววิทยาของท่าน และมองว่าการฟื้นฟูที่เน้นอารมณ์ร่วมนี้ไม่เหมาะสมกับคริสตจักรในประเทศไทย ก่อให้เกิดความแตกแยกของมิชชันนารีในสังกัดคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (American Presbyterian Mission) คือ กลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มหัวสมัยใหม อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูที่เกิดขึ้นก็ทำให้คริสตจักรไทย (โดยเฉพาะคริสตจักรจีนในไทย) มีการเคลื่อนไหวและได้เพิ่มจำนวนสมาชิกในช่วงนั้น ชาวคริสเตียนส่วนหนึ่งเชื่อว่าการมาของ ดร.จอห์น ซ่ง ได้นำรูปแบบคาริสเมติกเข้ามาในคริสตจักรไทยและเป็นการวางพื้นฐานเพื่อการก่อตั้งและขยายกลุ่มคณะเพ็นเทคอสตอลในภายหลัง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น